วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

พลอยสังเคราะห์ (Synthetic)

พลอยสังเคราะห์ (Synthetic) หรือ พลอยอัด คือสารที่ทำขึ้นมาโดยมนุษย์ มีลักษณะทางเคมีเหมือนกับสารธรรมชาติ ทำให้พลอยสังเคราะห์เหล่านี้ค่อนข้างยากที่จะพิสูจน์และแยกออกจากพลอยธรรมชาติเพราะวิธีการสังเคราะห์ใกล้เคียงกับธรรมชาติมาก ต่างกันตรงระยะเวลาการเกิดผลึกแบบธรรมชาติต้องใช้เวลาเป็นพันปี แต่พลอยสังเคราะห์ใช้เวลาไม่กี่วันหรือไม่ถึงปีขึ้นอยู่กับขั้นตอนแบบและชนิดพลอย กรรมวิธีการผลิตพลอยสังเคราะห์แบ่งเป็น
กรรมวิธีผลผลิตที่ได้
แบบหลอมละลาย (Melt Growth Process) ทับทิมสังเคราะห์
ซัฟไฟร์สังเคราะห์
สปิเนลสังเคราะห์
สตาร์ทับทิมสังเคราะห์
สตาร์ซัฟไฟร์สังเคราะห์
แบบโชคราวสกี้ (Czochralski)อเล็กซานไดรท์สังเคราะห์
อเล็กซานไดรท์ตาแมวสังเคราะห์
จีจีจี (GGG = Gadolinium Gallum Garnet) ทำเพื่อเลียนแบบเพชร
ทับทิมสังเคราะห์
ซัฟไฟร์สังเคราะห์
สตาร์ทับทิมสังเคราะห์
แย็ค (YAG = Yttrium Aluminum Garnet) ทำเพื่อเลียนแบบเพชร
แบบโฟลทติ้งโซน (Floating Zone Process)ทับทิมสังเคราะห์
ซัฟไฟร์สังเคราะห์สีน้ำเงิน ไร้สี และ ส้ม
แบบสกัลล์เมลท์ (Skull Melt Process)CZ เพชรเทียม คิวบิก เซอร์โคเนียสังเคราะห์ (Synthetic Cubic Zirconia,CZ)
แบบฟลักซ์ (Flux Process)ทับทิมสังเคราะห์
ไพลินสังเคราะห์
ซัฟไฟร์สังเคราะห์ ทุกสี
มรกตสังเคราะห์
แเล้กซานไดรท์สังเคราะห์
แบบไฮโดรเทอร์มอล (Hydrothermal Process)มรกตสังเคราะห์
ควอทซ์สังเคราะห์
ทับทิมสังเคราะห์
พลอยอัดสามารถทำเลียนแบบพลอยแท้โดยมีราคาที่ไม่สูงมากนัก สามารถนำมาทำเป็นเครื่องประดับต่างๆ ได้แต่ก็มักจะมีผู้จำหน่ายบางรายนำไปขายในราคาใกล้เคียงกับพลอยแท้จากธรรมชาติโดยมีเจตนาหลอกลวงผู้ซื้อให้เข้าใจผิดว่าเป็นพลอยแท้

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

ปรากฎการณ์ธรรมชาติของอัญมณี (Phenomenon)

ปรากฎการณ์ธรรมชาติหมายถึง ลักษณะพิเศษ หรือปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในอัญมณี ซึ่งอาจเกิดจากตำหนิในอัญมณี (Inclusions) โครงสร้างทางกายภาพของอัญมณี (Physical Structure) หรือ การดูดกลืนของแสงในอัญมณี (Selective Absorption) ปรากฎการณ์หรือลักษณะพิเศษที่เกิดขึ้นในอัญมณีมีดังนี้
  1. สาแหรกหรืออสตาร์ (Asterism or Start) เกิดจากแสงสะท้อนจากตำหนิเส้นเข็มในอัญมณีตัดกันมากกว่า 1 ระนาบ พบได้ในพลอยสตาร์ทับทิม (Start Ruby) หรือ สตาร์ซัฟไฟร์ (Start Sapphire) สังเกตุได้จากแสงสะท้อนหรือแสงส่องผ่าน
  2. ตาแมว (Chatoyancy or Cat's eye) เกิดจากแสงสะท้อนจากตำหนิเส้นเข็มขนานกัน 1 ระนาบ พบได้ใน พลอยคริสโซเบอริลตาแมว (Cat's eye Chrysoberyl) ควอทซ์ตาแมว (Cat's eye Quartz) หรือทัวมาลีนตาแมว (Cat's eye Tourmaline)
  3. อะเวนจูเรสเซนส์ (Aventurescence) เกิดจากแสงสะท้อนจากตำหนิลักษณะเป็นเกล็ดเล็กๆ ของแผ่นแร่ จะเห็นเป็นเกล็ดระยิบระยับในอัญมณี เช่น พลอยซันสโตน ออลิโกเคลส (Sunstone Oligoclase) ซึ่งมีแผ่นคอปเปอร์ (Copper Platelet) หรือแผ่นเฮมาไทท์ (Haematite Platelet) พลอยอะเวนจูรีน ควอทซ์ (Aventurine Quartz) ซึ่งมีแผ่นฟุคไซท์ ไมก้า (Fuchsite Mica Platelet)
  4. การเปลี่ยนสี (Change of Colour) เกิดจากการดูดกลืนแสงและการผ่านแสงพบได้จากพลอยอเล็กซานไดร์คริสโซเบอริล (Alexandrite Chrysobery) พลอยซัฟไฟร์เปลี่ยนสี (Alexandrite-like Sapphire)
  5. การเล่นสี (Play of Colour) เกิดจากโครงสร้างภายในประกอบด้วยธาตุซิลิคอนทรงกลม (Silicon Sphere) เมื่อแสงส่องผ่านและกระทบบนธาตุซิลิคอนจะเกิดเป็นลักษณะหย่อมสีหลายๆสี เช่น สีแดง สีน้ำเงิน เป็นต้น พบได้จากพลอยโอปอล (Opal) และ โอปอลสังเคราะห์ (Shythetic Opal)
  6. แลบบราโดเรสเซนส์ (Labradorescene) เกิดเนื่องจากเส้นระนบแฝด (Repeated Twinning) ที่อยู่ในผลึกบาางชนิด เมื่อแสงส่องผานและแทรกเข้าไปในเส้นระนาบแฝดเกิดมีลักษณะเป็นแผ่นสีฟ้า-เขียวเหลิือบไปมาบนผิวอัญมณี มักพบในพลอยแลบบราโดไรท์ เฟลด์สปราร์ (Labradorite Feldspar)
  7. อะดูลาเรสเซนต์ (Adularescence) เกิดเนื่องจากสีในผลึกอยู่ในลักษณะเป็นชั้นและมีความหนาของชั้นสีไม่เท่ากันเมื่อแสงส่องผ่านและกระทบชั้นสี เกิดมีลักษณะเป็นแผ่นสีขาวหรือฟ้าเหลือบไปมาบน ผิวพลอยมักพบในพลอย มูนสโตนออโธเคลส (Moonstone Orthoclase) คนไทยเรียกว่า "พลอยมุกดาหาร"
  8. อิริเดสเซนต์ (Iridescence) เกิดจากการส่องผ่านและแตกกระจายของแสงอยู่ในผลึก มักพบในพลอยไฟร์อะเก็ท (Fire Agate Chalcedony)
  9. โอเรียนท์ (Orient) เกิดเนื่องจากแสงส่องผ่านและกระทบพื้นผิวเกิดมีลักษณะแบบรุ้งสี มักพบในไข่มุกแลเปลือกหอยบางชนิด

ประเภทอัญมณีตามความแข็ง (Hardness)

แร่ทุกชนิดมิใช่ว่าจะเป็นอัญมณีได้ เพราะอัญมณีจะต้องเป็นวัตถุที่สวยงาม หายากและมีความคงทน และเหมาะสำหรับทำเป็นเครื่องประดับ ด้วยเหตุนี้แร่ที่มีอยู่จำนวนกว่า 3,000 ชนิด จะมีเพียงประมาณ 100 ชนิด ที่สามารถใช้เจียระไนและขัดมัน หรือแกะสลักสำหรับใช้ทำเป็นเครื่องประดับหรืออัญมณี

ฉะนั้นคำว่า "อัญมณี" ก็คือแร่ธาตุที่มีความสวยงาม ซึ่งอาจเกิดจากสารอินทรีย์ (Organic) หรือสารอนินทรีย์ (Inorganic) ก็ได้ สามารถนำมาเจียระไนและขัดมัน หรือ แกะสลักเพื่อใช้เป็นเครื่องประดับ ดังนั้นคุณสมบัติที่จะจัดเป็น "อัญมณี" จะต้องประกอบด้วย
  1. ความสวยงาม (Beauty)
  2. ความหายาก (Rarity)
  3. ความคงทน (Durability) ซึ่งแบ่งเป็น
    • ความแข็ง (Hardness)
    • ความเหนี่ยว (Toughness)
    • ความทนทาน (Stability)
ความแข็ง (hardness) หมายถึง ความทนทานของแร่ต่อการขีดข่วนให้เป็นรอย เราวัดความแตกต่างความแขงของเพชรพลอยและแร่ต่างๆได้โยใช้มาตรฐานการวัดของโมหส์ (Moh's Scale) ผู้ค้นพบคือ "เฟรดริซ โมหส์" (Fredrich Mohs) ชาวออสเตรเลีย ซึ่งได้รับการยอมรับจากนักวิชาการแร่ทั่วไปเป็นเวลามากกว่า 150 ปีโดยเริ่มจากหน่วย 10 ถึง 1 ซึ่งหมายถึงความแข็งมากที่สุดถึงน้อยที่สุด
ความแข็งแร่
10เพชร (Diamond)
9 คอรันดัม (Corundum)
8โทแพส (Topaz)
7ควอทซ์ (Quartz)
6ออร์โธเคลส (Orthoclase)
5อะพาไทท์ (Apatite)
4ฟลูออไรท์ (Fluorite)
3คาลไซด์ (Calcite)
2ยิปซัม (Gypsum)
1ทัลค์ (Talc)
พลอยที่มีความแข็งมากกว่า จะสามารถขูดพลอยที่มีความแข็งน้อยกว่าให้เป็นรอยได้ แต่พลอยที่มีความแข็งน้อยกว่า จะขูดขีดพลอยที่มีความแข็งมากกว่าไม่ได้ส่วนพลอยที่มีแข็งเท่ากันอาจขูดขีดกันเองให้เป็นรอยได้ การทบสอบความแข็งของพลอยที่เจียระไนแล้วถ้าเป็นไปได้ไม่ควรทำนอกจากเป็นการทดสอบขั้นสุดท้าย เพราะพลอยอาจเป็นตำหนิได้ส่วนมากพลอยที่เจียระไนเป็นเหลี่ยมแล้ว ไม่ใช้ความแข็งเป็นการทดสอบ นอกจากอยู่ในลักษณะของพลอยก้อน (Rough)
ความเหนียว (Toughness) หมายถึง ความคงทนต่อการแตก หรือแยกออกเมื่อถูกความกดดัน ความเหนียวเป็นคุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งของพลอย ซึ่งถ้าบวกกับความแข็งของพลอยด้วยแล้วจะทำให้ตัวพลอยมีความคงทนเป็นอย่างมาก คุณสมบัติของความแข็งและความเหนียวไม่เหมือนกัน เพราะพลอยบางชนิดมีมีความแข็งมากเนื่องจากอะตอมในตัวของมันเกาะกันแน่น แต่ในขณะเดียวกันก็อาจมีความเหนียวน้อยกว่าพลอยชนิดอื่นที่มีความแข็งน้อยกว่าเสียอีก เช่น เพชรที่มีความแข็ง 10 ส่วนหยกมีความแข็ง 6.5 - 7 แต่เพชรมีความเหนียวไม่เท่าหยก ทั้งนี้เพราะเพชรมีรอยแยกแนวเรียบ (Cleavage) ที่สมบูรณ์ใน 4 ทิศทาง ส่วนในหยกไม่มีรอยแยกแนวเรียบและผลึกในหยกนั้นแกาะตัวกันแน่นมาก จึงทำให้หยกมีคุณสมบัติที่ทนทานมากกว่าเพชร
ความทนทาน (Stability) หมายถึงความคงทนต่อสารเคมีที่สามารถทำให้โครงสร้างของพลอยชำรุดหรือแตกสลาย เช่น กรด แอลกอฮอล น้ำหอม เป็นต้น ส่วนรอยร้าวในโอปอล (Opal) ที่มักเกิดขึ้น เกิดจากการสูญเสียน้ำในตัวมันเอง (เนื่องจากในโอปอลมีส่วนผสมของน้ำปนอยู่)

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

อัญมณีตระกูลคอรันดัม (Corundum)

ระดับความเข็ง 9 มีหลายสี

คอลันดัมเป็นพลอยที่มีคุณภาพดีที่สุดประเภทหนึ่งที่นำมาใช้ทำเป็นเครื่องประดับเพราะมีความแข็งและความทนทานต่อการขีดข่วนได้เป็นอย่างดี คำว่า "คอรันดัม" มาจากภาษาสันสกฤตคำว่า "คูริวินดา" (Kurivinda) รูบี้ (Ruby) และซัฟไฟร์ (Sapphire) มาจากภาษาลาติน ซึ่งมีความหมายว่า สีแดงและสีน้ำเงิน พลอยคอรันดัมมีประวัติมายาวนานตามแหล่งกำเนิดของประเทศต่างๆ ด้วยเหตุที่คอรันดัมเป็นพลอยที่มีความนิยมกันมากและราคาสูง จึงได้มีผู้คิดค้นผลิตคอรันดัมสังเคราะห์ขึ้นมา ทำให้ห้องปฏิบัติการ (Laboratory) ต้องมีความละเอียดอ่อนมากขึ้นในการวิเคราะห์แยกพลอยคอรันดัมออกจากคอรันดัมสังเคราะห์ ซึ่งการวิเคราะห์ได้แน่นอนต้องอาศัยตำหนิภายใน (Inclusions) ซึ่งจะเป็นตัวแยกที่ดี

การวิเคราะห์คอรันดัมธรรมชาติ

คอรันดัมธรรมชาติหมายถึงพลอยที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีหลายสี ความสะอาดและโครงสร้างผลึกที่ได้มาไม่มีการเสริมเติมแต่งแต่อย่างใด สิ่งที่มนุษย์เติมแต่งได้คือ การเจียระไนและขัดมัน (Cutting+Polishing) เพื่อให้เกิดความสวยงามขึ้นแก่พลอยนั้นๆ

ตำหนิภายใน (Inclusioins) ของคอรันดัมที่ไม่ผ่านการเผา

  1. เส้นตรงหักมุมส่วนมากจะเป็นรูปหกเหลี่ยมตามรูปผลึกธรรมชาติ อาจมีเส้นเข็มหรือคล้ายฝุ่นละเอียดๆ อยู่บริเวณเส้นตรงหักมุม เส้นตรงหักมุมอาจะเป็นแถบหนา หรือบางแตกต่างกันไปและจะต้องไม่เป็นเส้นโค้งหรือแถบโค้ง ภายในเนื้อพลอย ถ้าเป็นพลอยก้อนจะเห็นเส้นหักมุมขนานกับหน้าผลึก
  2. เส้นเข็มรูทิลและเส้นไหม จะก่อตัวเป็นแนวขนานกับผลึก 6 เหลี่ยม ตัดกันทำมุม 60 x 120 องศา บนระนาบเรียบของฐานผลึก
  3. ตำหนิของแข็ง (ผลึก) ชนิดต่างๆเช่น เซอร์คอน (Zircon) คาลไซด์ (Calcite) ยูเรเนียม โพโรโคร (Cranium Pyrochiore) ไมก้า (Mica) อะพาไทท์ (Apatite) สปินิล (Spinel) เป็นต้น จะเห็นรอยตำหนิชัดเจน
  4. ตำหนิของเหลวหรือก๊าซที่อยู่ในทื่อกลวง เรียกว่าผลึกกลวงใส (Negative Crystals) อาจเป็น 2 หรือ 3 สถานะ (2-hase or 3 Phase) ก็ได้
  5. รอยตำหนิของเหลวในรูปแบบต่างๆ ส่วนมากจะเห็นเป็นรอยนิ้วมือ (Fingerprint) หรือเป็นแพขนนก (Feather) ซึ่งเป็นการเรียกรอยแตกต่างๆถายในลักษณะที่เห็นอาจเป็นม่นพริ้วบางๆ (Wispy) มักดูคล้ายฟลักซ์ (Flux) ในพลอยสังเคราะห์ แต่อย่างไรก็ตาม เราอาจสังเกตุเห็นผิวของพลอยมักจะมีรอยตำหนิของเหลวติดอยู่ ถ้าพูดถึงพลอยธรรมชาติรอยตำหนิเกิดขึ้นต้องใช้เวลายาวนาน
  6. โพลี่วินเทติก ทวินนิ่ง (Polysynthetic Twinning) เส้นระนาบแฝดตามแนวหน้าผลึกรอมโบฮีดรอน Rhombohedron) ตัดกั 87 x 93 องศา ซึ่งจะเห็นจากหน้าพลอยได้หลายทางด้วยกัน
  7. เส้นเข็มโบไมท์ (Boehmite) มีลักษณะยาวสีขาวอาจตัดหรือไม่ตัดกันบนระนาบแฝด ทิศทางและมุมจะอยู่ตรงกับแนวรอมโบฮีดรอน (Rhombohedron)
  8. รอยแยก (Parting) ตามแนวฐานผลึก (Basal Plane) และแนวรอมโบฮีดรอน
  9. สเปคตรัมของพลอยคอรันดัม ถ้าเป็นซัฟไฟร์สีน้ำเงิน เขียว เหลือง ที่มาจากไทย ออสเตเลีย มักจะพบเส้นดูดกลืนชัดเจนที่ 4500 4600 4700 น.อ. (ถ้าพลอยผ่านการเผามาอาจจะมีผลให้การดูดกลืนอ่อนลงได้) ถ้าเป็นพลอยมาจากซีลอนมักจะไม่มีเส้นดูดกลืนนี้เพราะส่วนใหญ่แล้วพลอยจะผ่านการเผามาแล้วทั้งสิ้น ส่วนของพม่าอาจพบแค่เส้น 4500 น.อ. หรือไม่มีสำหรับทัมทิมจะเป็นธาตุโครเมียม (Chromium) สเปคตรัมจะเหมือนกันทุกแหล่งรวมทั้งพลอยสังเคราะห์ด้วย

ตำหนิภายใน (Inclusions) ของคอรันดัมที่ผ่านการเผา

  1. เส้นไหมที่สลายตัว (Partially Dissolved Silk) การใช้ความร้อนในการเผามีผลทำให้เส้นไหมแตกออกเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ ดูเหมือนฝุ่น แต่ยังคงโครงสร้างเป็นเส้นไหมตัดกัน บางครั้งดูเหมือนหมอกหนาๆ สีขาวเกาะกันเป็นกลุ่มๆ เห็นได้ชัดในพลอยที่เผาแล้ว (โดยเฉพาะพลอยจากซีลอน) หมอกหนาๆนี้อาจเกาะกันและเรียงตัวตามแถบสีอยู่ขนานกับหน้าผลึกพลอย
  2. ผลึกกลวง (Nagative Crystals) ซึ่งอาจเกิดจากผลึกต่างๆแตกออกเนื่องจากได้รับความร้อนขณะเผาพลอย รูปร่างอาจเป็นจุดเล็กๆ คล้ายโดนัท เนื่องจากการเกาะกลุ่มกันของผลึกเมื่อเย็นตัวลง มักจะพบในพลอยของไทยและกัมพูชา
  3. ผลึกล้อมรอบด้วยรอยแตกวาวเป็นรูปวงแหวน (Tension Haloes) วงแหวนนี้เป็นรอยแตกที่เกิดจากการขยายตัวของผลึกเมื่อได้รับความร้อน
  4. จะไม่เห็นร่องรอยสนิม (Iron Stain) สีส้ม-แดงในรอยแตกของพลอย โดยเฉพาะคอรันดัมของไทย/กัมพูชา รอยสนิมนี้มักเห็นได้ในพลอยที่ยังไม่เผาเนื่องจากใต้ดินจะมีแร่เหล็กมาก ดังนั้นอาจแทรกติดอยู่ในพลอยคล้ายรอยสนิมแต่ธาตุเหล็กจะหายไประหว่างทำการปรับปรุงคุณภาพพลอยเช่น การเผาเป็นต้น
  5. พลอยบางชนิดเวลานำเข้าเครื่องอุลตร้าไวโอเลท ผลลัพธ์ของการเรืองแสดงอาจจะแตกต่างกันได้ ถ้าผลอยถูกเผาด้วยความร้อนมักจะเห็นเป็นสีขาวขุ่นๆ หรืออกสีน้ำเงินขุ่นๆ
  6. พลอยสีเหลืองหรือสีส้มที่ผ่านการเผา บางครั้งจะเป็นสีน้ำตาล หรือสีที่เข้มกว่าเก่า แต่เมื่อพลอยเย็นตัวลงสีจะกลับสู่สีเดิม วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลที่ดีวิธีหนึ่งสำหรับการเช็คพลอยเผาของศรีลังกา
  7. แถบสีของพลอยที่ถูกเผาแล้วจะเห็นชัดเจนและดูคล้ายมีฝุ่นเกาะเป็นกลุ่มเป็นหย่อมๆถายในระหว่างแถบสี
  8. แผลเป็นหลุมที่ผิว รอยธรรมชาติ (Natural) และบริเวณที่ไม่ถูกเจียระไนอาจจะเห็นร่องรอยการเผาหลงเหลืออยู่ซึ่งสามารถมองเห็นได้โดยใช้ฟลูออเรสเซ็นส์ (ไฟขาว) สำหรับพลอยทับทิมพม่าที่ยังไม่เผา บางครั้งอาจเห็นตำหนิคล้ายคลื่นความร้อนบริเวณของผิวพลอย

คอรันดัมที่ผ่านกรรมวิธีปรับปรุงคุณภาพ (Enhancement)

  1. การเผา (Heat Treatment) จุดประสงค์เพื่อเพิ่มหรือถอยสี ทำให้พลอยโปร่งใสขึ้น ทำให้สตาร์ดูชัดขึ้น
  2. การฉายสี (Irradiation) อาจทำให้พลอยเปลี่ยนจากสีเหลืองอ่อนเป็นเหลืองเข้ม แต่สีที่ได้จะไม่ถาวร
  3. การซ่านสี (Diffusion) สามารถซ่านสีเข้าไปในพลอยได้เฉพาะผิวภายนอกเท่านั้น การซ่านสีทำให้พลอยดูมีสีเรียบทั้วทั้งเม็ดหรืออาจทำให้มีสตาร์ (Asterism) แต่สีที่อยู่ผิวนอกจะหายไปเมื่อถูกเจียระไน

สตาร์คอรันดัม (Star Corundum)

ทับทิมและซัฟไฟร์แบบที่มีปรากฏการณ์สตาร์ได้รับความนิยมกันมาก สตาร์เกิดขึ้นจากตำหนิเส้นเข็มรูทิลภายในผลึกคอรันดัมเรียงตัวกันเป็นระนาบมากกว่า 1 ระนาบและตัดกัน เมื่อใช้แสงส่องดูแสงจะสะท้อนจากตำหนิเป็นเป็นแฉกหรือสตาร์ (Start) พลอยชนิดนี้จะต้องเจียระไนเป็นหลังเบี้ยเพราะจะทำให้เห็นเส้นสีขาวตัดกัน เห็นเป็น 6 แฉกชัดเจนบนด้านที่เป็นโดมโค้ง ราคาพลอยขึ้นอยู่กับสีและความคมชัดของสตาร์ซึ่งต้องได้สัดส่วนสวยงามชนิดของสตาร์ขึ้นอยู่กับสีโดยแบ่งออกเป็น

สตาร์ทับทิม (Star Ruby)

สตาร์ทับทิมจะมีสีแดง ถึงแดงอมม่วง โทนสีตั้งแต่อ่อนถึงเข้มลักษณะโปร่งใสถึงทึบแสง สตาร์ทับทิมที่สวยงามจะต้องมีลักษณะดังนี้
  • การเจียระไน ความหนาของ Girdle ลงมามีน้ำหนักไม่เกิน 1/4 หรืออาจน้อยกว่า ของน้ำหนักทั้้งหมด
  • สี จะต้องเสมอและเข้มสด กึ่งโปรงใส
  • สตาร์ มีขาที่คมและชัดอยู่ระหว่างกึ่งกลางของพลอยและขาจะต้องจรด Girdle ด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง เส้นสตาร์สามารถเคลื่อนไปมาและดูลึก

สตาร์ซัฟไฟร์ (Star Sapphires)

สตาร์ซัฟไฟร์ ชนิดเรียกตามสีของพลอย ลักษณะกึ่งโปรงแสงถึงทึบแสง สตาร์ซัฟไฟร์น้ำเงิน (Blure Start Sapphires) สตาร์ซัฟไฟร์ดำ (Black Star Sapphires) ถือว่าธรรมดาที่สุด ซัฟไฟร์สีส้ม เหลือง ไม่มีสตาร์ ส่วนสตาร์ซัฟไฟร์เขียวมีบ้างแต่หายาก แต่ถ้าขาสตาร์เป็นสีทองในพลอยสีดำจะมีค่ามากกว่าขาสีขาวคนไทยเรียกว่าสตาร์บุษ (Golden Star) มีความเชื่อกันว่าขาของสตาร์เป็นตัวแทนของศรัทธา ความหวัง และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ราคาพลอยขึ้นอยู่กับสีและความชัดของสตาร์ซึ่งต้องได้สัดส่วนสวยงาม ลักษณะสตาซัฟไฟร์ที่ดีต้องมีดังนี้
  • การเจียระไน ความหนาของ Girdle ลงมาได้ประมาณ 1/4 ของน้ำหนักทั้งเม็ด
  • สี กึ่งโปรงใส สีเสมอและเข้มสด
  • สตาร์ สามารถเห็นได้ง่ายและชัด อยู่ระหว่างกึ่งกลางของพลอยขาของสตาร์จะต้องจรดจาก Girdle ด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง สตาร์เคลื่อนไปมาได้และดูลึ

ชนิดและชื่อทางการค้า